ซองบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (Flexible Packaging) คือ อะไร?
ฟิล์มลามิเนต (Laminated Films) คือ อะไร? ได้จากฟิล์มหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต เช่น ฟิล์มยืด ฟิล์มหด และฟิล์มลามิเนต (Laminated Films) ก็เป็นหนึ่งในฟิล์มหลายๆ ประเภทที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน ลามิเนต (Laminate) ตามความหมายในพจนานุกรม มีความหมายว่า “การทำให้เป็นแผ่นบางๆประกอบด้วยชั้นบางๆ” เช่นเดียวกับฟิล์มพลาสติกลามิเนตหมายถึง แผ่นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านกระบวนการลามิเนตโดยการนำฟิล์มพลาสติกหลายๆ ชั้น มาเคลือบติดเข้าด้วยกันเป็นฟิล์มแผ่นเดียว หรือการเคลือบฟิล์มพลาสติกเข้ากับวัสดุอื่นๆ เช่น กระดาษหรือฟอยล์โลหะโดยทำการยึดติดระหว่างชั้น ฟิล์มด้วยการใช้ความร้อนหรือใช้กาว (adhesive) โดยฟิล์มลามิเนตจะมีจำนวนชั้นของฟิล์มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตามความต้องการของผู้ผลิต วัตถุประสงค์ของการผลิตฟิล์มลามิเนตในช่วงแรกก็เพื่อต้องการให้ลวดลายหรือตัวอักษรที่พิมพ์ลงไปบนฟิล์มนั้น สามารติดอยู่บนฟิล์มได้นานขึ้น โดยการนำแผ่นฟิล์มมาเคลือบติดบนฟิล์มอีกแผ่นหนึ่งที่ผ่านกระบวนการพิมพ์ลวดลายหรือตัวอักษรลงไป เพื่อ ป้องกันลวดลายของฟิล์มไม่ให้ลบเลือนจากปัจจัยภายนอก เช่น การขีดข่วน น้ำ และความชื้น ซึ่งการลามิเนตจะช่วยให้ลวดลายที่พิมพ์ลงไปบนฟิล์มสามารถติด ทนนาน ทำให้สินค้ามีความสวยงามดูน่าใช้ อีกทั้ง ยังช่วยยืดอายุของสินค้า (Shelf Life) ให้นานขึ้น สำหรับวัตถุประสงค์ของการผลิตฟิล์มลามิเนตในปัจจุบันนั้น ก็ยังคงคำนึงถึงความสวยงามควบคู่ไปกับคุณภาพของฟิล์มไปพร้อมๆกัน เนื่องจากในปัจจุบันผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีแนวโน้มการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกทดแทนบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น ขวดแก้ว กระดาษหรือกระป๋องโลหะมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับผู้บริโภคเองก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพอนามัยและด้านคุณภาพของสินค้ามากขึ้น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์จำเป็นต้องผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาด ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มลามิเนตในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก โดยสามารถนำฟิล์มที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาผ่านกระบวนการลามิเนตเพื่อที่จะให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพสูงมากขึ้นช่วยในด้านการปกป้องสินค้าที่บรรจุภายในให้รักษาคุณภาพภาพเอาไว้ รวมถึงรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่จะต้องดูสวยงามดึงดูดให้ผู้บริโภคมาซื้อสินค้า cr. plastics intelligence unit website www.plastics.oie.co.th
ประเภทของฟิล์ม มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? ประเภทของฟิล์มและวัสดุที่นิยมนำมาผลิตฟิล์มลามิเนตสำหรับบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ฟิล์ม LDPE และฟิล์ม LLDPEในชั้น ในสุดหรือชั้น ที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง โดยฟิล์ม PE ให้คุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี ทนความร้อนได้สามารถใช้กับกระบวนการปิดผนึกด้วยความร้อนได้(Heat Sealing) และยังสามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีและการกัดกร่อนจากกรดบางประเภทได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ถุงเย็น ถุงซิป ฟิล์มยืด ฟิล์มหด ฟิล์มคลุมดิน ฟิล์ม PP ที่นิยมใช้ในกระบวนการลามิเนตคือ ฟิล์มCPP (Cast Polypropylene Film) และฟิล์มBOPP (Biaxially Oriented Polypropylene Film) ซึ่ง ฟิล์มทั้ง สองชนิดมีคุณสมบัติโดดเด่นมากทั้ง ในด้านความใส ผิวมันวาว เหนียว ทนต่อแรงดึง ไม่มีไฟฟ้าสถิตย์ กันน้ำ ได้ดี ฟิล์ม CPP และ BOPP มัก ถูกใช้ควบคู่กันโดย CPP จะทำหน้าที่เป็นชั้น เคลือบ เพื่อให้อาหารหรือสินค้าที่บรรจุปลอดภัยจากผลกระทบของสีที่พิมพ์ลงบน BOPP ฟิล์ม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ฟิล์มหุ้มซองบุหรี่ ฟิล์ม PET ที่นำมาใช้ในการลามิเนตคือฟิล์ม BOPET (Biaxially Oriented PolyethyleneTerephthalate) มีผิวที่เงางาม เรียบ มีความใสทนทานต่อการฉีกขาดหรือการกด กระแทก รักษารูปทรงได้ดีในอุณหภูมิระดับต่างๆ ทนความร้อนสูงสามารถใช้กับไมโครเวฟได้ ทนทานต่อความชื้น ทนสารเคมีและตัวทำละลายได้หลากหลายประเภทสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซต่างๆ ได้ดี และมีคุณสมบัติในการถนอมและรักษากลิ่นของอาหารและรักษาความกรอบของขนมขบเคี้ยวได้ดีกว่าฟิล์ม BOPP ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน ฟิล์มสำหรับแผงโซลาเซลล์ ฟิล์ม PA ที่นิยมนำมาใช้ในการลามิเนตก็คือฟิล์ม BOPA (Biaxially Oriented Polyamide Film) มีคุณสมบัติที่ดีในการต้านทานการรั่วซึม ทนต่ออุณหภูมิร้อน-เย็น มีความเหนียวเป็นพิเศษ BOPA จึงสามารถนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สุญญากาศสำหรับบรรจุอาหารได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สุญญากาศสำหรับอาหารแช่แข็ง ถุงข้าวสาร เป็นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านกระบวนการฉาบด้วยโลหะอลูมิเนียม (Aluminum) ทำให้ซองบรรจุภัณฑ์มีสีสันแวววาว กันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี ช่วยยืดอายุของสินค้าภายในได้ดีกว่าแผ่นฟิล์มชนิดธรรมดา ฉะนั้น ฟิล์ม Metalized จึงเหมาะกับการนำไปใช้งาน ในด้านบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก โดยฟิล์ม Metalized ที่นิยมใช้ในการลามิเนตได้แก่ M-BOPA (Metalized Nylon Film), M-CPP (Metalized Cast Polypropylene Film), M-PET (Metalized Polyester Film) เป็นต้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ซองขนม ซองกาแฟสำเร็จรูป 3in1 ฟอยล์อลูมิเนียมมีคุณสมบัติสำหรับการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดถ้าเทียบกับฟิล์มพลาสติกชนิดอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็มีราคาแพงที่สุดเช่นกัน โดยฟอยล์อลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการป้องกันได้ทั้ง ก๊าซต่างๆ กันการซึมผ่านของก๊าซ น้ำ กลิ่น น้ำมัน และแสง ได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้สามารถปกป้องและถนอมผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในได้ยาวนานกว่า ฟิล์มชนิดอื่นๆ อลูมิเนียมฟอยล์ใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์อาหาร ยา ฯลฯ ทั้ง ที่เป็นของแข็งและของเหลว ถ้าหากผลิตภัณฑ์กัดกร่อนได้ก็ยังสามารถเคลือบฟอยล์อลูมิเนียมด้วยสารอื่นๆที่ทนต่อการกัดกร่อน ได้ และผิวของฟอยล์อลูมิเนียมก็มีความมันวาวสวยงามเช่นเดียวกับฟิล์ม Metalized อีกด้วย ชนิดของพลาสติก PET = Polyethylene Terephthalate MPET = Metallized Polyethylene Terephthalate BOPP = Biaxially Oriented Polypropylene Nylon = Polyamild K Nylon = Polyvinylidene Chloride (PVDC) LLDPE = Linear Low Density Polyethylene CPP = Cast Polypropylene MCPP = Metallized Polypropylene PE = Polyethylene PP = Polypropylene PS = Polystyrene AL = Aluminium Foil SPUNBOND = Spunbond Fabric
คุณสมบัติของฟิล์มแต่ละประเภท มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง? คุณสมบัติของฟิล์ม PET [row] [col span=”1/2″]
ข้อดี เนื้อฟิล์มใสมาก (Clarity) ทนต่อความร้อนสูงมาก (Heat resistance) ทนต่อความเย็นได้ดี (Cold resistance) ความแข็งของฟิล์มดีมาก (Stiffness) ความแข็งแรงของฟิล์มดีมาก (Tensile Strength) ค่าระเบิดผิวฟิล์มสูงมาก (High-Corona-treat) ทนต่อ Alcohol ได้ดีมาก ทนต่อกรดได้ดีมาก (Acid resistance) ความสามารถในการป้องกันกลิ่นได้ดี สามารถเข้า Micro-wave ได้ [/col]
[col span=”1/2″ ]
ข้อเสีย ความสามารถในการป้องกันความชื้นและอากาศไม่ดี ไม่มีคุณสมบัติ Heat sealable ทนต่อด่างไม่ดี (Alkali resistance) ต้นทุนแพง (Expensive) เนื้อฟิล์มไม่เหนียว (Toughness) [/col] [/row]
คุณสมบัติของฟิล์ม MPET [row] [col span=”1/2″]
ข้อดี เนื้อฟิล์มเงามาก (Gloss) ทนต่อความร้อนที่สูงมาก (Heat resistance) ทนต่อความเย็นได้ดี (Cold resistance) ความแข็งของฟิล์มดีมาก (Stiffness) ความแข็งแรงของฟิล์มดีมาก (Tensile Strength) ทนต่อ Alcohol ได้ดีมาก ทนต่อกรดได้ดีมาก (Acid resistance) ความสามารถในการป้องกันกลิ่นได้ดีมาก ความสามารถในการป้องกันความชื้นได้ดีมาก ความสามารถในการป้องกันอากาศได้ดีมาก ไม่เกิดการ Crack เมื่อโดนกระทำ [/col]
[col span=”1/2″ ]
ข้อเสีย ไม่มีคุณสมบัติ Heat sealable ทนต่อด่างไม่ดี (Alkali resistance) ต้นทุนแพง (Expensive) เนื้อฟิล์มไม่เหนียว (Toughness) [/col] [/row] คุณสมบัติของฟิล์ม BOPP [row] [col span=”1/2″]
ข้อดี เนื้อฟิล์มใส (Clarity) ความแข็งแรงของฟิล์มดี (Stiffness) ทนต่อความเย็นดี (Cold resistance) ความสามารถในการป้องกันความชื้นดี (WVTR) ทนต่อ Alcohol ได้ดี ทนต่อกรดได้ดีมาก (Acid resistance) ทนต่อด่างดีมาก (Alkali resistance) ต้นทุนถูก (Cheaper) [/col]
[col span=”1/2″ ]
ข้อเสีย ไม่ทนต่อความร้อน (Heat resistance) ไม่มีคุณสมบัติเป็น Heat Seal-ability ความสามารถในการป้องกันออกซิเจนไม่ดี (O2TR) ความสามารถในการป้องกันกลิ่นไม่ดี (Flavor barrier) ค่าระเบิดผิวฟิล์มต่ำ (Corona treat) อายุการเก็บสั้น เนื้อฟิล์มไม่เหนียว (Toughness) [/col] [/row] คุณสมบัติของฟิล์ม MOPP [row] [col span=”1/2″]
ข้อดี เนื้อฟิล์มเงา (Gloss) ความแข็งแรงของฟิล์มดี (Stiffness) ทนต่อความเย็นดี (Cold resistance) ความสามารถในการป้องกันความชื้นดีมาก ทนต่อ Alcohol ได้ดี ทนต่อกรดได้ดีมาก (Acid resistance) ทนต่อด่างดีมาก (Alkali resistance) ความสามารถในการป้องกันออกซิเจนดีมาก (O2TR) ความสามารถในการป้องกันกลิ่นดีมาก (Flavor barrier) [/col]
[col span=”1/2″ ]
ข้อเสีย ไม่ทนต่อความร้อน (Heat resistance) ค่า Heat seal-Strength ต่ำ ค่าระเบิดผิวฟิล์มต่ำ (Corona treat) อายุการเก็บสั้น เนื้อฟิล์มไม่เหนียว (Toughness) [/col] [/row] คุณสมบัติของฟิล์ม NYLON [row] [col span=”1/2″]
ข้อดี เนื้อฟิล์มใส (Clarity) ทนต่อความร้อนได้ดี(Heat resistance) ทนต่อความเย็นได้ดีมาก(Cold resistance) ความสามารถในการป้องกันออกซิเจนได้ดี (O2TR) มีความสามารถป้องกันกลิ่นได้ดี (Flavor resistance) ทนต่อด่างได้ดี (Alkali resistance) เนื้อฟิล์มเหนียวมาก (Toughness) [/col]
[col span=”1/2″ ]
ข้อเสีย ความแข็งของฟิล์มไม่ดี (Stiffness) ไม่มีคุณสมบัติเป็น Heat seal-ability ความสามารถในการป้องกันความชื้นไม่ดี(WVTR) ไม่ทนต่อกรด (Acid resistance) ไม่ทนต่อ Alcohol ต้นทุนสูงมาก (High costing) [/col] [/row] คุณสมบัติของฟิล์ม MCPP [row] [col span=”1/2″]
ข้อดี เนื้อฟิล์มเงา (Gloss) ทนต่อความร้อนปานกลาง (Resistant to moderate heat) ความสามารถในการซีลดี (The ability to seal well) สามารถป้องกันความชื้นดี (Moisture can be good) สามารถป้องกันกลิ่นได้ดี (Can prevent smells good) สามารถป้องกันออกซิเจนได้ดี(O2TR) [/col]
[col span=”1/2″ ]
ข้อเสีย ความแข็งแรงของเนื้อฟิล์มไม่ดี ไม่ทนต่อความเย็น เกิดการ Crack เมื่อโดนกระทำ [/col] [/row]